13 May 2025
4 ชั่วโมงที่ผ่านมา
สรุปผลการประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินัย มารยาท ครั้งที่ 38 ประจำฤดูกาล 2567/68
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา คณะกรรมการพิจารณาวินัย มารยาท จัดประชุม ครั้งที่ 38 ประจำฤดูกาล 2567/68 โดยมี นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ เป็นประธาน
พิจารณาเรื่องร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่การแข่งขัน
1. การแข่งขันกีฬาฟุตบอลลีกอาชีพรายการไทยลีก 3 วันที่ 3 พฤษภาคม 2568 คู่ระหว่างสโมสร สมุทรสาคร ซิตี้ พบ สโมสร สงขลา เอฟซี (สโมสร สงขลา เอฟซี ร้องเรียนมา 2 เหตุการณ์)
- เหตุการณ์ที่ 1
ในนาทีที่ 58 ในจังหวะแย่งชิงบอลผู้เล่นหมายเลข 6 นายนพรุจ รักษาชุม สโมสร สงขลา เอฟซี (ฝ่ายรุก) ถูกผู้เล่นหมายเลข 36 นายนลธวัช รักอก สโมสร สมุทรสาคร ซิตี้ (ฝ่ายรับ) ใช้ท่อนแขนและข้อศอกกระแทกบริเวณคอถึงหน้าอก ซึ่งสโมสรฯ มองว่า จังหวะการปะทะนั้นไม่ได้เป็นการปะทะแบบไหล่ต่อไหล่ และผู้เล่นฝ่ายรับไม่ได้สัมผัสโดนบอล ส่งผลให้ผู้เล่นหมายเลข 6 นายนพรุจ รักษาชุม สโมสร สงขลา เอฟซี ได้รับบาดเจ็บ แต่ผู้ตัดสินไม่ได้มีการเป่าฟาล์วแต่อย่างใด
- ผลพิจารณาโทษ
ลงโทษนายปวราย์ ศรีจันทร์ ผู้ตัดสิน ปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาด ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่การแข่งขัน ตามบทลงโทษหมวดที่ 9 ลักษณะโทษข้อ 57 (8) พักการปฏิบัติหน้าที่ 1 สัปดาห์ เนื่องจากผู้เล่นหมายเลข 36 นายนลธวัช รักอก สโมสร สมุทรสาคร ซิตี้ (ฝ่ายรับ) ได้มีการยกแขนขึ้นมาทำให้ท่อนแขนไปชนกระแทกบริเวณหน้าอกจนถึงส่วนของคอของผู้เล่นหมายเลข 6 นายนพรุจ รักษาชุม สโมสร สงขลา เอฟซี (ฝ่ายรุก) ทำให้เสียหลักล้มลงและได้รับบาดเจ็บ เป็นการเล่นในลักษณะของขาดการไตร่ตรองยั้งคิด (Reckless) ผู้ที่กระทำผิดจะต้องถูกคาดโทษ (ใบเหลือง) ตามกติกาข้อ 12 หน้า 105 ผู้ตัดสินไม่มีการเป่าฟาล์ว ถือว่าตัดสินไม่ถูกต้อง
- เหตุการณ์ที่ 2
ในนาทีที่ 64 ในจังหวะเลี้ยงบอลผู้เล่นหมายเลข 6 นายนพรุจ รักษาชุม สโมสร สงขลา เอฟซี (ฝ่ายรุก) ถูกผู้เล่นหมายเลข 22 นายไชยพฤกษ์ จิราจินต์ สโมสร สมุทรสาคร ซิตี้ (ฝ่ายรับ) กางขาออกมาเพื่อที่จะสกัดลูกบอลทำให้เกิดการปะทะกันจนล้มลงในเขตโทษ ซึ่งสโมสรฯ มองว่า ผู้เล่นฝ่ายรับไม่ได้มีการสัมผัสโดนบอลแต่อย่างใด และมีการกางขาออกมาเพื่อขัดขวางการเล่นถึงสองจังหวะ จึงทำให้ไปสัมผัสโดนตัวผู้เล่นฝ่ายรุกจนล้มลง แต่ผู้ตัดสินไม่ได้มีการเป่าฟาล์ว ทำให้สโมสร สงขลา เอฟซี ไม่ได้จุดโทษ
- ผลพิจารณาโทษ
พฤติกรรมของผู้เล่นหมายเลข 22 นายไชยพฤกษ์ จิราจินต์ สโมสร สมุทรสาคร ซิตี้ (ฝ่ายรับ) เข้ามาเพื่อสกัดกั้นโดยการเหยียดขาเพื่อเล่นลูกบอล แม้ไม่โดนลูกบอลแต่ก็ไม่ได้ไปขัดขาผู้เล่นหมายเลข 6 นายนพรุจ รักษาชุม สโมสร สงขลา เอฟซี (ฝ่ายรุก) แต่อย่างใด การชนปะทะเกิดจากผู้เล่นฝ่ายรุกเป็นผู้เคลื่อนเข้าหาและได้พยายามกระโดดข้าม แต่ไม่พ้นเป็นการเล่นปกติทั่วไปของผู้เล่นทั้งสอง ผู้เล่นฝ่ายรับไม่ได้ขัดขา ส่วนผู้เล่นฝ่ายรุกก็ไม่ได้มีเจตนาพุ่งล้มแต่อย่างใด ผู้ตัดสินอยู่ในตำแหน่งที่ดีไม่มีการเป่าฟาล์ว ถือว่านายปวราย์ ศรีจันทร์ ผู้ตัดสิน ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้อง
พิจารณาเหตุการณ์ไม่ปกติของการแข่งขันกีฬาฟุตบอล
2. การแข่งขันกีฬาฟุตบอลลีกอาชีพรายการ เมืองไทย ลีก (ไทยลีก 2) วันที่ 10 พฤษภาคม 2568 คู่ระหว่างสโมสร แพร่ ยูไนเต็ด พบ สโมสร ลำปาง เอฟซี
- เหตุการณ์
เหตุการณ์ที่ 1 ในนาทีที่ 73 กองเชียร์สโมสร ลำปาง เอฟซี (ซึ่งระบุได้ว่าเป็นกองเชียร์สโมสร ลำปาง เอฟซี เพราะใส่เสื้อสโมสร ลำปาง เอฟซี สีขาวเขียว และอยู่ในบริเวณที่นั่งทีมเยือนโซน W gate 5) ไม่พอใจผู้ตัดสินที่ให้ใบแดงผู้เล่นหมายเลข 31 นายไกรวิทย์ บุญลือ สโมสร ลำปาง เอฟซี จึงขว้างแก้วน้ำลงมาในสนาม ลงมาบริเวณลู่วิ่ง หน้าป้ายเอบอร์ดข้างสนาม โดยไม่โดนผู้ใด และไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ
เหตุการณ์ที่ 2 ในนาทีที่ 88 กองเชียร์สโมสร ลำปาง เอฟซี (ซึ่งระบุได้ว่าเป็นกองเชียร์สโมสร ลำปาง เอฟซี เพราะใส่เสื้อสโมสร ลำปาง เอฟซี สีขาวเขียว และอยู่ในบริเวณที่นั่งทีมเยือนโซน W gate 5) ได้จุดพลุไฟ บนอัฒจันทร์ที่นั่งของทีมเยือน ซึ่งเป็นบริเวณที่นั่งของกองเชียร์สโมสร ลำปาง เอฟซี โดยมีเปลวไฟลุกไหม้ประมาณ 5 นาที จากการตรวจสอบ ปรากฏว่าไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ ได้รับความเสียหาย ซึ่งก่อนการแข่งขันทางด้านตำรวจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสนาม ได้ตรวจเช็คสิ่งต้องห้ามเข้าสนามแล้วนั้นไม่พบการนำอุปกรณ์ดังกล่าวเข้าไปสนามแข่งขัน คาดว่ากองเชียร์สโมสร ลำปาง เอฟซี ได้นำเข้าไปตอนช่วงระหว่างพักครึ่งของการแข่งขัน
- ผลพิจารณาโทษ
1) ลงโทษกองเชียร์สโมสร ลำปาง เอฟซี ขว้างแก้วน้ำลงไปในสนาม เป็นกระทำที่ไม่เหมาะสมในสถานที่จัดการแข่งขัน มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 4.4 ปรับเงิน 30,000 บาท แต่เนื่องจากเป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการไทยลีก 2 จึงลงโทษปรับสองในสาม ปรับเงิน 20,000 บาท
2) ลงโทษกองเชียร์สโมสร ลำปาง เอฟซี จุดพลุบนอัฒจันทร์ เป็นกระทำที่ไม่เหมาะสมในสถานที่จัดการแข่งขัน มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 4.3 ปรับเงิน 60,000 บาท แต่เนื่องจากเป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการไทยลีก 2 จึงลงโทษปรับสองในสาม ปรับเงิน 40,000 บาท
3) ลงโทษสโมสร แพร่ ยูไนเต็ด บกพร่องในการตรวจเช็คหรือควบคุมไม่ให้กองเชียร์นำพลุ ประทัดดอกไม้ไฟ เข้าไปในสถานที่จัดการแข่งขัน หรืออัฒจันทร์ มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 5.3.18 (1) ปรับเงิน 30,000 บาท แต่เนื่องจากเป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการไทยลีก 2 จึงลงโทษปรับสองในสาม ปรับเงิน 20,000 บาท
- ระเบียบว่าด้วยการลงโทษ
ข้อ 4.3 ใช้วัสดุอุปกรณ์ใด ๆ ที่ก่อให้เกิดการรบกวนการทำหน้าที่ของผู้ตัดสิน หรือนักกีฬาฟุตบอลระหว่างการแข่งขัน เช่น การเป่านกหวีด หรือการใช้แตร หรือการใช้แตรไฟฟ้า หรือฉายแสงเลเซอร์ เป็นต้น หรือกระทำการใด ๆ ที่ไม่เหมาะสมในสถานที่จัดการแข่งขัน ได้แก่ การจุดพลุ หรือจุดประทัด หรือจุดไฟเย็น หรือจุดวัตถุอื่นจนเกิดเป็นควัน หรือจุดพลุบริเวณที่ว่างด้านหลังของอัฒจันทร์ ทั้งก่อน หรือระหว่าง หรือหลังจากการแข่งขันจบลงแล้ว จะถูกปรับเงินตั้งแต่ 30,000 บาท ถึง 60,000 บาท
ข้อ 4.4 กองเชียร์ทีมใด หรือกลุ่มบุคคลใด หรือบุคคลใด ขว้างปาหรือกระทำด้วยประการใด ให้วัสดุหรือสิ่งของอื่นใด เข้าไปในสนามก็ดี หรือกระทำต่อนักกีฬาฟุตบอล หรือเจ้าหน้าที่ทีม หรือกองเชียร์ทีมคู่แข่งขัน หรือเจ้าหน้าที่การแข่งขันก็ดี องค์กรสมาชิกต้นสังกัดของกองเชียร์ที่เป็นผู้กระทำ และ/หรือ องค์กรสมาชิกที่เป็นทีมเหย้าที่ปล่อยให้มีการกระทำดังกล่าวต้องรับโทษ จะถูกปรับเงินตั้งแต่ 30,000 บาท ถึง 60,000 บาท
ข้อ 5.3.18 ความบกพร่องด้านการรักษาความปลอดภัยในวันแข่งขัน
(1) บกพร่องในการตรวจเช็คหรือควบคุมไม่ให้กองเชียร์หรือบุคคลใด นำขวดน้ำ พลุ ประทัดดอกไม้ไฟ หรือวัสดุที่สามารถนำไปใช้ในการทำร้ายกันได้ เข้าไปในสถานที่จัดการแข่งขัน หรืออัฒจันทร์ จะถูกปรับเงินตั้งแต่ 30,000 บาท ถึง 50,000 บาท
3. การแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการช้าง เอฟเอ คัพ (รอบรองชนะเลิศ) วันที่ 10 พฤษภาคม 2568 คู่ระหว่างสโมสร เมืองทอง ยูไนเต็ด พบ สโมสร ราชบุรี เอฟซี
- เหตุการณ์
เวลาประมาณ 17.15 น. ขณะที่นักกีฬาทั้งสองทีมกำลังทำการอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน ได้รับแจ้งจากฝ่ายรักษาความปลอดภัยว่ามีการจุดพลุแฟลร์ที่ด้านนอกสนามแข่งขัน บริเวณหลังอัฒจันทร์โซน N (อัฒจันทร์ฝั่งคบเพลิง) ซึ่งเป็นอัฒจันทร์ที่จัดไว้สำหรับกองเชียร์สโมสร เมืองทอง ยูไนเต็ด จากการสังเกตจากด้านในสนาม พลุแฟร์ที่จุดนั้นใช้เวลาประมาณ 4 นาที ก็ดับลง
- ผลพิจารณาโทษ
ลงโทษกองเชียร์สโมสร เมืองทอง ยูไนเต็ด จุดพลุในสถานที่จัดการแข่งขัน เป็นกระทำที่ไม่เหมาะสมในสถานที่จัดการแข่งขัน มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 4.3 ปรับเงิน 60,000 บาท
- ระเบียบว่าด้วยการลงโทษ
ข้อ 4.3 ใช้วัสดุอุปกรณ์ใด ๆ ที่ก่อให้เกิดการรบกวนการทำหน้าที่ของผู้ตัดสิน หรือนักกีฬาฟุตบอลระหว่างการแข่งขัน เช่น การเป่านกหวีด หรือการใช้แตร หรือการใช้แตรไฟฟ้า หรือฉายแสงเลเซอร์ เป็นต้น หรือกระทำการใด ๆ ที่ไม่เหมาะสมในสถานที่จัดการแข่งขัน ได้แก่ การจุดพลุ หรือจุดประทัด หรือจุดไฟเย็น หรือจุดวัตถุอื่นจนเกิดเป็นควัน หรือจุดพลุบริเวณที่ว่างด้านหลังของอัฒจันทร์ ทั้งก่อน หรือระหว่าง หรือหลังจากการแข่งขันจบลงแล้ว จะถูกปรับเงินตั้งแต่ 30,000 บาท ถึง 60,000 บาท
Futsal & Beach Soccer
13 May 2025
"โค้ชโอ" ให้สัมภาษณ์หลังเกมฟุตซอลหญิงไทย พบ ฮ่องกง ในรอบแปดทีมสุดท้ายของศึกฟุตซอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย
Youth and Grassroots Football
13 May 2025
80 เยาวชน ภาคตะวันออกและตะวันตก เข้าร่วมโครงการค้นป่าหาช้างเผือก FIFA Talent ID 2025 เลกสอง
Futsal & Beach Soccer
13 May 2025
ฟุตซอลหญิงไทย กด ฮ่องกง 5-2 ทะลุรอบรองฯ ศึกชิงแชมป์เอเชีย 2025 ลุ้นตั๋วไปฟุตซอลโลก